วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วัตถุประสงค์ของการออกแบบและวางผังโรงงาน




1.1.1 วัตถุประสงค์ของการออกแบบและวางผังโรงงาน
  • ลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง / เพิ่มผลผลิตให้กับโรงงานเป็นส่วนรวม

ดังนั้น ถ้าออกแบบ/วางผังโรงงานที่ดี แล้วทำให้เกิดประโยชน์แก่โรงงาน

  • ความปลอดภัยและความพอใจของคนงาน
  • ลดความล่าช้าของการผลิต
  • การใช้เนื้อที่ที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
  • การขนส่ง/การกระจายสินค้าไปสู่ตลอดมีประสิทธิภาพ
  • การใช้เครื่องจักร,คนงาน, และการบริการให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • ลดการลำเลียงขนถ่ายวัสดุและสินค้าลง
  • ความสะดวกแก่การซ่อมบำรุง/รักษาเครี่องจักร, เครื่องมือ,อุปกรณ์และโรงงาน
  • ฯลฯ

1.1.2 เป้าหมายพื้นฐานของการออกแบบและวางผังโรงงาน
  • หลักการเกี่ยวกับการรวมกิจกรรมทั้งหมด
  • หลักการเกี่ยวกับการ เคลื่อนที่ในระยะทางสั้นที่สุด
  • หลักการเกี่ยวกับการไหลของวัสดุ
  • หลักการเกี่ยวกับการใช้เนื้อที่
  • หลักการเกี่ยวกับความยืดหยุ่น
  • หลักการเกี่ยวกับการทำให้คนงานมีความพอใจและมีความปลอดภัย

1.2 การออกแบบและการวางผังโรงงาน
  • การออกแบบโรงงาน (Plant Design)
  • การรวมการออกแบบทั้งหมดของกิจกรรมของโรงงาน ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกิจกรรมตลอดจนถึง การวางแผนทางด้านการเงิน, ทำเลที่ตั้งโรงงานและการวางแผนส่วนสำคัญทั้งหมดของกิจกรรม
  • การวางผังโรงงาน (Plant Layout)
  • การวางแผนเพื่อจัดวางเครื่องจักร, อุปกรณ์, คนงาน, วัตถุดิบ, สิ่งอำนวยความสะดวกและสนับสนุนในการผลิตของโรงงานในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด





รูปแสดงลักษณะกิจกรรมต่างๆ ของการออกแบบโรงงาน

  • ข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจ ที่จะทำให้การออกแบบโรงงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การหาแหล่งเงินทุน
  • เงินทุน คงที่
  • เงินทุน หมุนเวียน
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์ตามหน้าที่การทำงาน
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์ตามวิธีการผลิต
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการขาย
  • การวางแผนการขาย
  • วัฏจักรธุรกิจ
  • การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล

การเลือกขบวนการผลิต

ขบวนการผลิตต่อเนื่อง

  • ขบวนการผลิตซ้ำ
  • ขบวนการผลิตไม่ต่อเนื่อง
  • การกำหนดขนาดของโรงงาน
  • การกำหนดระดับ ราคาของผลิตภัณฑ์
  • ทำเลที่ตั้งโรงงาน
  • การวางผังโรงงาน
  • การเลือกชนิดของอาคารโรงงาน
  • การกำหนดขอบเขตของการสร้างผลิตภัณฑ์หลายๆ ชนิด
  • การพัฒนาองค์กร

      1. การพิจารณาการวางผังโรงงาน
  • ทำไมจึงต้องมีการพิจารณาการวางผังโรงงาน










รูปแสดงสาเหตุที่ทำให้มีการวางผังโรงงาน


  • ลักษณะของปัญหาการวางผังโรงงานที่เกิดขึ้น







รูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุที่ทำให้เกิดมีการวางผังโรงงาน กับ ลักษณะปัญหาการวางผังโรงงาน


      1. องค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อผังโรงงาน
  • องค์ประกอบด้านวัสดุ
  • วัตถุดิบ, วัสดุที่นำเข้ามา, วัสดุในขบวนการผลิต, ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป, ซากวัสดุ, วัสดุเพื่อการบรรจุ , เป็นต้น
  • องค์ประกอบด้านเครื่องจักร
  • เครื่องจักรการผลิต, อุปกรณ์/ขบวนการเปลี่ยนคุณสมบัติ, ที่เสียบปลั๊กไฟฟ้า,
  • องค์ประกอบด้านคน
  • แรงงานตรง, กลุ่มผู้จัดการ/ผู้บริหาร, หัวหน้าแผนก, แรงงานรอง, เป็นต้น
  • องค์ประกอบด้านการเคลื่อนที่/การขนถ่ายวัสดุ
รางลื่น, เครน, เครื่องยก, ลิฟท์, รอก, กล่อง, ถัง, อุปกรณ์จับยึด, เป็นต้น
  • องค์ประกอบด้านการคอย
  • ค่าใช้จ่ายในการขนถ่ายว้สดุ, การขนถ่ายวัสดุในพื้นที่รอคอย, การตรวจสอบจำนวนวัสดุที่คอยอยู่, เป็นต้น
  • องค์ประกอบด้านบริการ
  • การให้บริการที่สัมพันธ์กับคน, วัสดุ, เครื่องจักร
  • องค์ประกอบด้านอาคาร
  • รูปทรงอาคารโรงงาน, ชั้นใต้ดินของอาคาร/หลายชั้น, หน้าต่าง,หลังคา, ผนัง, เสา, เป็นต้น
  • องค์ประกอบด้านการเปลี่ยนแปลง
  • การเปลี่ยนแปลงของวัสดุ, เครื่องจักร, คน, ภายนอก, และกิจกรรมสนับสนุนการผลิต












1.3 ชนิดของการจัดวางผังโรงงาน

  • ก่อนที่จะเริ่มวิเคราะห์ และจำแนกผังโรงงานต้องรู้ก่อนว่า
  • การผลิต (Production)
เป็นผลการรวมเอา คน, วัสดุ, เครื่องจักร, อันเป็นการรวม อันเป็นปัจจัยสำคัญเข้าด้วยกัน โดยอยู่ภายใต้การจัดการอย่างมีระเบียบแบบแผน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามเป้าหมายที่ต้องการ
  • ผลิตภัณฑ์/ปริมาณ (Product and Quantity)
ลิตภัณฑ์ : จะทำการผลิตอะไร ?
ปริมาณ : จะผลิตอะไรจำนวนเท่าไร ?






  • เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจในการเลือกชนิดของผังโรงงาน
ในการที่จะวางแผนผังโรงงานให้ได้ผังโรงงานที่ดี
  • ผังโรงงานมี กี่ชนิด ?
  • แต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไร ?
  • เหมาะที่จะใช้เมื่อไร ?
  • เหมาะกับการผลิตงานประเภทใด ?
การจัดผังโรงงานสามารถที่จะจำแนกออกได้ 3 ชนิด
  • การวางผังตามชนิดของผลิตภัณฑ์ (Product Layout)
  • การวางผังตามขบวนการผลิต (Process Layout)
  • การวางผังตามตำแหน่งของงาน (Fixed Position Layout)









  • 1.3.1 การวางผังตามชนิดของผลิตภัณฑ์ (Product Layout)
  • ลักษณะการวางผังตามผลิตภัณฑ์ ในส่วนของเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในกรรมวิธีการผลิตจะจัดวางเรียงตามลำดับขั้นตอน โดยที่ป้อนวัตถุดิบเข้าทางหนึ่งของสายการผลิต ผ่านขบวนการจนได้เป็นผลิตภัณฑ์ออกมาอย่างต่อเนื่องกัน









รูปแสดงการวางผังโรงงานตามชนิดของผลิตภัณฑ์

  • 1.3.2 การวางผังตามขบวนการผลิต (Process Layout)
  • ักษณะการวางผังแบบนนี้ เป็นการจัด เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้งานประเภทเดียวกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน










รูปแสดง การวางผังตามขบวนการผลิต






  • 1.3.3 การวางผังตามตำแหน่งของงาน (Fixed Position Layout)
  • ลักษณะการวางผังแบบนนี้ เป็นการจัดโดยการวาง เครื่องจักร และอุปกรณ์ ในตำแหน่งที่เคลื่อนที่เข้าไปหางานได้สะดวกและรวดเร็ว งานที่ทำเป็นงานใหญ่อยู่กับที่

แนวทางพิจารณาการเลือกชนิดของผังโรงงาน
  • ในทางปฏิบัติแล้วการเลือกผังโรงงานจะเป็นแบบผสม เพื่อความเหมาะสมยิ่งขึ้น ก็ควรศึประโยชน์ หรือดี ของผังโรงงานแต่ละชนิด
  • การวางผังตามชนิดของผลิตภัณฑ์ (Product Layout)
  • โรงงานที่ผลิตสินค้าน้อยชนิด แต่ละชนิดมีปริมาณการผลิตมาก
  • สินค้าแต่ละชนิดมีมาตรฐานแน่นอน
  • วัตถุดิบที่ป้อนเข้าสายงานผลิตสม่ำเสมอ
  • ตลาดมีความต้องการสินค้าแต่ละชนิดจำนวนมาก และสม่ำเสมอ

  • การวางผังตามขบวนการผลิต (Process Layout)
  • โรงงานที่ผลิตสินค้ามากชนิด แต่ละชนิดมีปริมาณการผลิตน้อย
  • สินค้าแต่ละชนิดอาจผลิตเพียงครั้งเดียว
  • โรงงานต้องการรับงานได้หลายประเภท
  • เวลาการผลิตแต่ละขั้นตอนแตกต่างกัน
  • เป็นเครื่องจักรประเภททั่วๆ ไป ทำงานได้หลายรูปแบบ

  • การวางผังตามตำแหน่งของงาน (Fixed Position Layout)
  • โรงงานที่ผลิตสินค้ามากชนิด แต่ละชนิดมีปริมาณการผลิตน้อย
  • สินค้าที่เคลื่อนย้ายยาก
  • โรงงานต้องการผังโรงงานให้มีความยืดหยุ่นสูง









1.4 การพิจารณาจุดคุ้มทุนของการวางผังโรงงานแต่ละชนิด








รูปแสดง การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน โดยการเปรียบเทียบระหว่างปริมาณการผลิตที่ต้องการ กับ ชนิดของผังโรงงาน



    1. กุญแจดอกสำคัญสำหรับการวางผังโรงงาน
ผลิตภัณฑ์ : จะทำการผลิตอะไร ?
ปริมาณ : จะผลิตอะไรจำนวนเท่าไร ?











รูปแสดง องค์ประกอบพื้นฐานของการวางแผนผังโรงงาน

แบบฝึกหัด 1
1. จงอธิบายถึงข้อแตกต่าง ระหว่าง การออกแบบโรงงาน กับ การวางผังโรงงาน
2. การวางผังโรงงานมีบทบาทต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างไร
3. ทำไมจึงนำเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์มาพิจารณาประกอบการออกแบบและวางผังโรงงาน
4. สาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการวางผังโรงงานมากที่สุดคืออะไร
5. หากมีผู้เสนอให้ท่านเลือกระหว่างการออกแบบและการวางผังโรงงานใหม่ กับการปรับปรุงผังโรงงานเดิมท่านจะเลือกอย่างไร เพราะเหตุใด
6. ทำไมจึงต้องคำนึงถึงชนิดของผังโรงงาน ก่อนทำการวางแผนผังโรงงาน อะไรเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ผลักดันให้ตัดสินใจเลือกผังโรงงานแต่ละประเภท
7. อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์รถยนต์นั่ง ท่านคิดว่าควรวางผังโรงงานแบบใด หากว่าทุกชิ้นส่วนของ ตัวถังถัง
โรงงาน เป็นผู้ผลิตเอง
8. อยากทราบว่า P,Q,R,S และ T องค์ประกอบตัวใดมีบทบาทต่อการวางผังโรงงานมากที่สุด



บทาทของารออกแบบและางังโรงงา 1- 17

2 ความคิดเห็น:

  1. วัตถุประสงค์ของการออกแบบและวางผังโรงงาน

    ตอบลบ
  2. อุตสาหกรรมครัวเรือน คืออุตสาหกรรมการผลิตง่ายๆ เล็กๆ มักทำกันในครอบครัวหรือหมู่บ้าน บริหารงานและจัดทำโดย ดร.สมัย เหมมั่น ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดนครปฐม เชียวชาญด้าน อสังหาฯและวิศวะกรรม

    ตอบลบ